สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

งานเขียนประเภทโน้มน้าวใจ เป็นการเขียนเพื่อให้ผู้อ่าน เมื่ออ่านแล้ว เกิดความคิดคล้อยตาม อยากทำตามหรืออยากปฏิบัติตามที่ผู้เขียนได้เขียนไว้

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

1.1       ม.1/3   ระบุเหตุและผล  และข้อเท็จจริงกับข้อคิดเห็นจากเรื่องที่อ่าน
                ม.1/5   ตีความคำยากในเอกสารวิชาการโดยพิจารณาจากบริบท
                ม.1/6   ระบุข้อสังเกตและความสมเหตุสมผลของงานเขียนประเภทชักจูงโน้มน้าวใจ
                ม.1/7   ปฏิบัติตามคู่มือแนะนำวิธีการใช้งานของเครื่องมือ  หรือเครื่องใช้ในระดับที่ยากขึ้น
                ม.1/8   วิเคราะห์คุณค่าที่ได้รับจากการอ่านงานเขียนอย่างหลากหลายเพื่อนำไปใช้แก้ปัญหาในชีวิต
                ม.1/9   มีมารยาทในการอ่าน

จุดประสงค์การเรียนรู้

1. บอกความหมายของการโน้มน้าวใจ      

2. บอกข้อสังเกตงานเขียนประเภทโน้มน้าวใจ       

3. ระบุหรือจำแนกข้อสังเกตและความสมเหตุสมผลของงานเขียนประเภทโน้มน้าวใจได้

การวัดผลและประเมินผล

1. วิธีการ

นำเสนอผลงาน

2. เครื่องมือ

ตรวจใบงาน เรื่อง  งานเขียนประเภท  โน้มน้าวใจ

3. เกณฑ์                      

3.1 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ร้อยละ 80 ขึ้นไป

3.2 ผ่านเกณฑ์คุณภาพระดับ     2 ขึ้นไป

ปีการศึกษา 2564 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มสาระ ภาษาไทย
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 พื้นฐานอ่านเขียน
ชั่วโมง ระบุข้อสังเกตงานเขียนประเภทโน้มน้าวใจ
เรื่อง ระบุข้อสังเกตงานเขียนประเภทโน้มน้าวใจ 14 มิ.ย. 64 (มีใบงานและใบความรู้)